Search

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต้นไม้กับภารกิจช่วยลดมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ตอน 2) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

scienceuna.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

เกณฑ์พื้นที่สีเขียว และสภาพปัจจุบัน

บทความนี้จะเน้นย้ำความสำคัญของการมีพื้นที่สีเขียว (Green Space) เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สาธารณะ (Open Space) ที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เป้าหมายของพื้นที่สีเขียวนั้น นอกจากจะใช้เป็นพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนแล้ว ยังมีไว้เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม มีสำนึกรักในพื้นที่ส่วนรวม เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันและรักษาไว้สืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ สำหรับมาตรฐานของพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและมาตรฐานในการเข้าถึง ในส่วนของเกณฑ์สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร อ้างอิงตามมาตรฐานของประเทศไทย และมาตรฐานของกรุงเทพมหานครตาม สำนักโยธาธิการและผังเมือง (2545) ที่เคยมีการนำมาใช้ในหลายหน่วยงาน เท่ากับ 16 ตารางเมตรต่อคน และมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดตามขนาดของชุมชนเมือง (10-21 ตารางเมตรต่อคน) โดยเมืองขนาดเล็กมักเป็นเมืองศูนย์กลางการเกษตรและมักมีพื้นที่ก่อสร้างน้อยจึงมีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวมาก 21 ตารางเมตรต่อคน ในขณะที่เมืองขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น เมืองมีบทบาทต่างๆ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ก่อสร้างมาก และสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวลดลง ควรมีพื้นที่สีเขียว 10 ตารางเมตรต่อคน แต่จากข้อมูลสำนักงานสวนสาธารณะ ของกรุงเทพฯ เมื่อปี 2017 ระบุว่า พื้นที่กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวรวม 6.43 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนอยู่ที่ 23.1 ตารางเมตรต่อคน หรือที่แคนาดามีสัดส่วน 12.6 ตารางเมตรต่อคน สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ ในปัจจุบันคาดว่าน่าจะต่ำกว่าเมื่อปี 2017 ลงไปอีกเพราะตลอดสองปีที่ผ่านมามีประชากรหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมืองเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีพื้นที่สีเขียวส่วนหนึ่งที่ต้องหดหายไปจากการเติบโตของสิ่งปลูกสร้าง โดยเฉพาะบรรดาคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด

พืชดูดซับฝุ่นละอองได้อย่างไร

กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมของต้นไม้ เกิดขึ้นด้วยกระบวนการหายใจตลอดเวลาในเวลากลางวันจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจน ส่วนในเวลากลางคืนจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมานอกจากนี้ ใบไม้ยังช่วยดักจับฝุ่นละอองในอากาศ ละอองฝุ่นที่ล่องลอยผ่านต้นไม้จะติดค้างอยู่บนผิวใบ และเมื่อฝนตกลงมาฝุ่นเหล่านี้ก็จะถูกชะล้างลงดินไป แทนที่จะถูกสูดเข้าไปทำอันตรายต่อปอดของสิ่งมีชีวิต โดยมีงานวิจัยของหน่วยงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า บริเวณต้นไม้ใหญ่ทีมวิจัยพบการลดลงของอนุภาคฝุ่นละอองตั้งแต่ 7-24% และบริเวณดังกล่าวยังมีอุณหภูมิเฉลี่ยลดลงอีกด้วย ผลจากการคายน้ำของต้นไม้ แสดงให้เห็นว่าต้นไม้สามารถช่วยแก้ปัญหาหมอกควันในเมืองได้จริง ที่พิเศษก็คือต้นไม้บางต้นมีคุณสมบัติในการดูดซับมลพิษในอากาศมากกว่าต้นอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นต้นไม้ที่มีใบใหญ่ และหนา เช่น ต้นเมเปิล และต้นเอล์ม สำหรับประเทศไทยจะใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกพรรณไม้เหมาะสมกับประเภทของพื้นที่สีเขียวเพื่อให้พรรณไม้สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ปลูก และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพื้นที่สีเขียว โดยเกณฑ์ของชุมชนเมืองขนาดใหญ่พื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ พื้นที่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียวบริเวณริมทางสัญจร และพื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจชุมชนควรเลือกปลูกพรรณไม้ที่มีลักษณะทางนิเวศวิทยาเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก อย่างน้อยร้อยละ 50 ของพืชพรรณทั้งหมด นอกจากนี้ในปี 2017 มีรายงานน่าสนใจเผยแพร่ลงในวารสาร Atmospheric Environment ชี้ว่า ต้นไม้ใหญ่ช่วยดูดซับมลพิษแค่ในพื้นที่เปิดโล่งเท่านั้น แต่สำหรับเมือง “พุ่มไม้” เหมาะที่สุดในการดักจับฝุ่นควันที่ส่วนใหญ่แล้วมาจากท่อไอเสียรถยนต์ เนื่องจากบางครั้งต้นไม้ใหญ่ก็สูงเกินไปที่จะจัดการกับมลพิษบนท้องถนน เรียกได้ว่า หากจะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจริง เมืองนั้นๆควรปลูกต้นไม้หลากหลายรูปแบบ ในท้ายที่สุดแล้ว มีต้นไม้มากเท่าไหร่ก็ไม่พอ หากมลพิษจากยานพาหนะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยสรุปแล้วสำหรับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 การเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียว เพิ่มปริมาณต้นไม้ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดมลพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้ในระยะยาว ด้วยการเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียว ตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการจัดการพื้นที่ พิจารณาด้านงบประมาณ และปัจจัยอื่นๆ อย่างเหมาะสม เน้นจุดสำคัญในบริเวณเส้นทางสัญจรให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แนวทางอื่น เช่น การสร้างระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายอย่างสมบูรณ์เข้าถึงทุกพื้นที่ การเพิ่มการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคุมการใช้พลังงานทางเลือกไบโอดีเซล หรือบี20 แทนน้ำมันดีเซล และการจัดการยานพาหนะรุ่นเก่า ทั้งหมดนี้จะช่วยให้พื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งในจังหวัดที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก และมลพิษทางอากาศให้มีสิ่งแวดล้อม คุณภาพอากาศที่สะอาด เพื่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพที่ดีของประชาชนทุกคน อย่างยั่งยืนตลอดไป

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ผู้จัดการออนไลน์.แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเมืองใหญ่ทั่วโลก.[ออนไลน์] เข้าถึงได้ จาก https://ift.tt/2ZZABf1.

2.รพีพัฒน์ เกริกไกวัล.(2543). องค์ประกอบธาตุในฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

3.สำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ. พื้นที่สีเขียวชุมชนเมือง.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://ift.tt/2C4k8hr.

4.National Geographic (ฉบับภาษาไทย). “ต้นไม้” วิธีที่ง่ายและยั่งยืนที่สุดในการลดปัญหาฝุ่นควัน.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://ift.tt/2C1n5PY.

กัญญ์รวี บ่อสุวรรณ

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)




July 12, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3elBZgQ

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต้นไม้กับภารกิจช่วยลดมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ตอน 2) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/2wcicAM


Bagikan Berita Ini

0 Response to "วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต้นไม้กับภารกิจช่วยลดมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ตอน 2) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.