Search

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต้นไม้กับภารกิจช่วยลดมลพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ตอน 1) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

scienceuna.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5

ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 (Particle Matter Smaller Than 2.5 Micron)เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่า ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพอากาศของกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้นในแต่ละปี จนอยู่ในระดับที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน และได้กลายเป็นปัญหาสำคัญในสังคม องค์การอนามัยโลกรายงาน มาตรฐานปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และกำหนดค่าวิกฤตไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สำหรับประเทศไทยกำหนดปริมาณฝุ่น PM2.5 มีความเข้มข้นตามเกณฑ์ค่ามาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หากมีค่าเกินมาตรฐานจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถเข้าสู่หลอดลม ถุงลม และเข้าสู่กระแสเลือดได้เลย ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง มีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจและทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นๆ เช่น เนื้อเยื่อปอด เป็นต้น หรือหากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานานจะสามารถสะสมในเนื้อเยื่อปอด ส่งผลให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด และเป็นสารก่อมะเร็ง ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีการแจกแจงตามขนาดอนุภาคและกลไกการเกิดละออง พบว่าฝุ่นละอองส่วนมากเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2 ไมครอน โดยทั่วไปเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น พวกซัลเฟต จากปฏิกิริยาออกซิเดชันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นตะกั่วจากไอเสียของยานพาหนะ ส่วนฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 2 ไมครอน ส่วนมากมีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ ซึ่งฝุ่นที่อยู่ในอากาศในเขตบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล มีแหล่งกำเนิดหลัก 4 ประเภท คือ ยานพาหนะทางบก การก่อสร้างประเภทต่างๆ กิจกรรมการบรรทุกและขนส่งวัสดุก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า และสถานประกอบการ และการเผาวัสดุในที่แจ้ง สำหรับฝุ่น PM2.5 โดยทั่วไปจะมีแหล่งกำเนิดมาจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน

แนวทางลดปัญหา

ปัญหาจำเป็นและเร่งด่วนนี้ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ของเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนมีมาตรการใช้โดรนพ่นสารกำจัดหมอกควัน ยิงจรวดสร้างฝนเทียม ควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม การควบคุมการจราจรบนท้องถนนและยานพาหนะ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีความทั่วถึงมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ในส่วนของกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ได้มีมาตรการสั่งลดการก่อสร้างหรือการรื้อถอนที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง และโรงงานลดกำลังการผลิต เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซและควัน สั่งห้ามใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ เพิ่มระบบขนส่งสาธารณะ รวมทั้ง กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ใช้มาตรการห้ามรถยนต์เก่า และรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขับเข้าย่านกลางเมืองหลวง มาตรการอุดหนุนให้ประชาชนเดินทางด้วยวิธีอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละอองของเมืองหลวงใน 3 ประเทศที่ยกตัวอย่างนี้ ให้ความสำคัญกับการลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพราะเป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรกที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง สำหรับประเทศไทยได้มีแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น มาตรการการจำกัดปริมาณการใช้รถยนต์ โดยเฉพาะย่านใจกลางเมือง การจัดพื้นที่ให้ประชาชนจอดรถย่านชานเมือง การพัฒนาระบบรางและระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ การจำกัดการใช้รถยนต์รุ่นเก่า การจัดการรถขนส่งให้สลับรถวิ่งวันคู่วันคี่ การออกกฎกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยไอเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดการตรวจสอบและควบคุมการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด และการเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ใจกลางเมืองให้มากขึ้น การปลูกต้นไม้เป็นกำแพง สวนแนวตั้ง สวนบนหลังคา หรือรอบๆ อาคาร เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ เพราะใบของต้นไม้ไม่ว่าชนิดใดก็ตามมีคุณสมบัติดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศได้ โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของใบหรือชนิดของต้นไม้ที่ปลูก

กัญญ์รวี บ่อสุวรรณ

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)




July 05, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2ZvKznS

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต้นไม้กับภารกิจช่วยลดมลพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ตอน 1) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/2wcicAM


Bagikan Berita Ini

0 Response to "วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต้นไม้กับภารกิจช่วยลดมลพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ตอน 1) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.